“บัตรเครดิตโดนแฮก” ต้องทำอย่างไร ? เพื่อปฏิเสธการจ่ายกับทางธนาคาร
- by Terry
“บัตรเครดิตโดนแฮก” ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพมักจะใช้ช่องว่างที่ผู้คนไม่ทันได้ระวังตัว อาทิเช่น การ Save รหัสบัตรใน Chrome, การรั่วไหลข้อมูลของลูกค้าจากทางสถาบันการเงินหรือตามแอพพลิเคชั่นที่มีการกรอกรหัสบัตรเครดิตไว้, การไม่ได้ปิดเลข CVV หลังบัตร ฯลฯ ดังนั้นในวันนี้เราจึงได้รวบรวมขั้นตอนการดำเนินการเมื่อบัตรเครดิตโดนแฮกและการยื่นเรื่องเพื่อปฏิเสธการจ่ายกับทางธนาคารมาฝาก ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลย!
ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อบัตรเครดิตโดนแฮก1.ทำการอายัดบัตรเครดิต
อันดับแรกเมื่อคุณรู้แล้วว่าบัตรเครดิตโดนแฮก ก็ให้คุณรีบโทรไปหาธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อขออายัดบัตรในทันที! เนื่องจากการอายัดบัตรนั้น จะทำให้พวกมิจฉาชีพไม่สามารถใช้บัตรเครดิตใบนั้นได้อีกต่อไป แม้จะมีเลขรหัสบนบัตรก็ตาม
2.แจ้งความดำเนินคดี
เมื่อคุณทำการอายัดบัตรเครดิตเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาคือการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เนื่องจากในประเทศไทยของเรามีข้อกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าของบัตรเครดิต ซึ่งว่าด้วย…
มาตราที่ 46 : ผู้ใดมีไว้ในความครอบครองซึ่งบัตรเครดิตหรือรหัสบัตรเครดิตโดยทุจริต ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 47 : ผู้ใดใช้บัตรเครดิตเป็นของปลอมหรือแปลง หรือใช้บัตรเครดิตโดยรู้หรือควรจะรู้ได้ว่าเป็นบัตรเครดิตของผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ตรวจสอบ Statement บัตรเครดิต
หลังจากที่คุณได้ทำการอายัดบัตรเครดิตและไปแจ้งความเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ให้คุณตรวจเช็ค Statement ย้อนหลังของบัตรเครดิต เพื่อดูว่าพวกมิจฉาชีพได้นำบัตรเครดิตของคุณไปใช้จ่ายอะไรแล้วหรือยัง ? ซึ่งถ้าพวกมิจฉาชีพยังไม่ได้ทำอะไรกับบัตรเครดิตของคุณ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่! ในกรณีที่พวกมิจฉาชีพได้นำบัตรเครดิตของคุณไปใช้จ่ายแล้ว คุณก็อย่าพึ่งสติหลุดเพราะคุณสามารถทำเรื่องทักท้วงและปฏิเสธรายจ่ายรายการนั้นๆ กับทางธนาคารได้ โดยวิธีการทำเรื่องทักท้วงเลยก็คือ…
3.1 ติดต่อกับทางธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อแจ้งเรื่องกับเจ้าหน้าที่ว่าบัตรเครดิตโดนแฮก และพวกมิจฉาชีพได้นำรหัสบัตรเครดิตไปใช้จ่าย ซึ่งตัวคุณเองก็ได้ทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้วเรียบร้อย
3.2 หลังจากนั้นทางธนาคารจะส่ง “แบบฟอร์มทักท้วงการใช้บัตรเครดิต” มาให้คุณกรอก เพื่อเป็นการยืนยันและปฏิเสธรายการที่พวกมิจฉาชีพได้ใช้ไป
3.3 เมื่อคุณกรอกรายละเอียดครบถ้วน ทางธนาคารจะทำการตรวจสอบยอดส่วนเกิน(ยอดที่พวกมิจฉาชีพได้ใช้ไป) ซึ่งเมื่อทางธนาคารตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะไม่มีการเรียกเก็บยอดเงินจำนวนนั้นๆ แถมทางธนาคารจะคืนวงเงินมาให้คุณครบถ้วนตามเดิมอีกด้วย
4.แจ้งเครดิตบูโรให้เรียบร้อย
ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อบัตรเครดิตโดนแฮกเลยก็คือ การแจ้งเรื่องไปยังสำนักงานเครดิตบูโรแห่งชาติ เพื่อที่ทางสำนักงานจะได้ให้ “รายงานข้อมูลบัตรเครดิต” กับคุณ โดยเอกสารตัวนี้คุณสามารถนำไปยื่นประกอบคำร้องต่อศาลได้(หากมีปัญหาในอนาคต)
เมื่อไหร่ที่คุณรู้ตัวแล้วว่า “บัตรเครดิตโดนแฮก” ก็ให้คุณรีบดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นที่เราได้กล่าวไป เพื่อที่พวกมิจฉาชีพจะได้ไม่สามารถรูดบัตรหรือนำข้อมูลภายในบัตรออกไปใช้งานได้! รวมไปถึงคุณต้องหมั่นตรวจสอบการทำธุรกรรมอยู่เสมอ ว่ายอดที่เรียกมานั้นตรงกับการใช้งานของคุณหรือเปล่า ? เพราะถ้าหากมีอะไรที่ผิดปกติคุณจะได้รู้ตัวและทำการแก้ไขได้ทันเวลานั่นเอง และสำหรับใครที่กำลังต้องการจะทำบัตรเครดิตใบใหม่อยู่ล่ะก็ คุณก็สามารถเข้าไปเลือกชมบัตรเครดิตหลากหลายรูปแบบการใช้งานจากธนาคารชั้นแนวหน้าของประเทศไทยได้ที่ Rabbit Care เว็บไซต์ที่มีบัตรเครดิตให้คุณเลือกมากที่สุดแห่งยุค พร้อมทั้งทาง Rabbit Care ยังมีของขวัญและสิทธิพิเศษที่รอมอบให้คุณอยู่อีกเพี๊ยบ!
“บัตรเครดิตโดนแฮก” ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพมักจะใช้ช่องว่างที่ผู้คนไม่ทันได้ระวังตัว อาทิเช่น การ Save รหัสบัตรใน Chrome, การรั่วไหลข้อมูลของลูกค้าจากทางสถาบันการเงินหรือตามแอพพลิเคชั่นที่มีการกรอกรหัสบัตรเครดิตไว้, การไม่ได้ปิดเลข CVV หลังบัตร ฯลฯ ดังนั้นในวันนี้เราจึงได้รวบรวมขั้นตอนการดำเนินการเมื่อบัตรเครดิตโดนแฮกและการยื่นเรื่องเพื่อปฏิเสธการจ่ายกับทางธนาคารมาฝาก ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลย! ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อบัตรเครดิตโดนแฮก1.ทำการอายัดบัตรเครดิต อันดับแรกเมื่อคุณรู้แล้วว่าบัตรเครดิตโดนแฮก ก็ให้คุณรีบโทรไปหาธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อขออายัดบัตรในทันที! เนื่องจากการอายัดบัตรนั้น จะทำให้พวกมิจฉาชีพไม่สามารถใช้บัตรเครดิตใบนั้นได้อีกต่อไป แม้จะมีเลขรหัสบนบัตรก็ตาม 2.แจ้งความดำเนินคดี เมื่อคุณทำการอายัดบัตรเครดิตเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาคือการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เนื่องจากในประเทศไทยของเรามีข้อกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าของบัตรเครดิต ซึ่งว่าด้วย… มาตราที่ 46 : ผู้ใดมีไว้ในความครอบครองซึ่งบัตรเครดิตหรือรหัสบัตรเครดิตโดยทุจริต ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 47 : ผู้ใดใช้บัตรเครดิตเป็นของปลอมหรือแปลง หรือใช้บัตรเครดิตโดยรู้หรือควรจะรู้ได้ว่าเป็นบัตรเครดิตของผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ตรวจสอบ Statement บัตรเครดิต หลังจากที่คุณได้ทำการอายัดบัตรเครดิตและไปแจ้งความเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ให้คุณตรวจเช็ค Statement ย้อนหลังของบัตรเครดิต เพื่อดูว่าพวกมิจฉาชีพได้นำบัตรเครดิตของคุณไปใช้จ่ายอะไรแล้วหรือยัง ? ซึ่งถ้าพวกมิจฉาชีพยังไม่ได้ทำอะไรกับบัตรเครดิตของคุณ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่!…